วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนภาษาเมนูโปรแกรมใน Ubuntu

ในขณะที่เราทำการติดตั้ง Ubuntu เราจะได้รับตัวเลือกให้เลือกภาษาสำหรับการใช้งานซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเลือกเป็นภาษาไทย เมื่อเราใช้งานไปสักพักทำการติดตั้งโปรแกรมต่างๆแล้ว บางโปรแกรมมีการแปลเมนู, คำอธิบาย, ฟังก์ชั่นต่างๆไว้เป็นภาษาไทยแล้ว ก็จะแสดงผลทุกๆอย่างนั้นเป็นภาษาไทย แต่บางครั้งหรือบางคนอาจจะต้องการให้มันเป็นภาษาดั้งเดิม (เช่นภาษาอังกฤษ)

ในบางโปรแกรมอาจจะมีตัวเลือกสำหรับการเปลี่ยนภาษาให้ แต่บางโปรแกรมไม่ได้มีให้มาด้วย หรือบางโปรแกรมมีให้แต่ไม่สามารถใช้ได้ เพราะว่าระบบเครื่องถูกกำหนดไว้เป็นภาษาที่คุณเลือกเมื่อทำการติดตั้งไว้แล้ว

วิธีหนึ่งก็คือการเปลี่ยนภาษาของเครื่องไปเลย ซึ่งบางคนอาจจะไม่ได้ต้องการเปลี่ยนภาษาของทุกๆส่วนเป็นภาษาอื่นๆ แต่ต้องการให้เปลี่ยนเฉพาะโปรแกรมที่ต้องการเท่านั้น

การเปลี่ยนภาษาเมนูโปรแกรม

โปรแกรมที่จะแสดงเป็นตัวอย่างในการเปลี่ยนภาษาเมนูที่จะใช้คือ Google Chrome

เริ่มต้นให้ไปที่ ระบบ (System) —> ปรับแต่งพื้นโต๊ะ (Preferrence) —> เมนูหลัก (Main Menu)

หน้าต่างเมนูหลักจะปรากฎ ในช่องเมนู (Menu) ทางขวาให้เลือกโปรแกรมที่เราจะเปลี่ยนภาษาเมนูในที่ก็คือ Google Chrome ซึ่งจะอยู่ที่ อินเตอร์เน็ต (Internet) ช่องรายการทางขวาจะเปลี่ยนเป็นรายการโปรแกรมที่อยู่ในเมนูของอินเตอร์เน็ต (Internet) คลิกขวาที่โปรแกรม Google Chrome ในช่องรายการโปรแกรมทางขวาและเลือกคุณสมบัติ (Properties) จะปรากฎหน้าต่างคุณสมบัติ

ในช่องคำสั่ง (Command) ให้พิมพ์

env LANGUAGE=ภาษาที่ต้องการ

เพิ่มไว้ด้านหน้าคำสั่งอื่นๆและเว้นวรรค

คำสั่ง env LANGUAGE=ภาษาที่ต้องการ ตรง ภาษาที่ต้องการ คือตัวย่อชื่อภาษาที่คุณต้องการจะเปลี่ยนเช่นภาษาอังกฤษคือ en, ภาษาจีนคือ cn, ภาษาฝรั่งเศสคือ fr ตัวย่อชื่อภาษาเพิ่มเติมดูได้ที่เวบไซท์ http://www.greenbuilder.com/general/countries.html

ตัวอย่างจากภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษ

env LANGUAGE=en /opt/google/chrome/google-chrome %U
กดปุ่มปิด

ทำการปิดเปิด Google Chrome ใหม่ (ถ้าเปิดอยู่) ในตอนนี้เมนู, คำอธิบายและฟังก์ชั่นต่างๆควรจะเป็นภาษาอังกฤษแล้ว

ในบางกรณีภาษาอาจจะไม่ถูกเปลี่ยนเนื่องจากโปรแกรมนั้นไม่ได้ถูกแปลไว้ในภาษานั้นภาษาดั้งเดิมจะถูกแทนที่ อีกกรณีคือ Font ของภาษานั้นไม่ได้ถูกติดตั้งไว้ หรือชุดภาษาของโปรแกรมนั้นไม่ได้ถูกติดต้งไว้

อ่านเพิ่มเติม »

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

หน้า about: ของ Google Chrome

เช่นเดียวกับบราวเซอร์อื่นๆ Google Chrome จะมีหน้าพิเศษที่สามารถเข้าถึงได้โดยการพิมพ์ about: ตามด้วยคำสั่งที่ช่อง Address ของบราวเซอร์ แต่ละคำสั่งที่ตามหลัง about: จะเปิดหน้าพิเศษที่ซ่อนอยู่ใน Google Chrome หน้าพื้นฐานของหน้าพิเศษก็คือ about:about ซึ่งจะแสดงรายการคำสั่งที่สามารถใช้ได้ทั้งหมดกับ about: ซึ่งจะมี

  • about:about — แสดงหน้ารายการที่ใช้กับ about:
  • about:appcache-internals — แสดงรายการไฟล์ manifest ที่ใช้งานอยู่
  • about:credits — แสดงรายการผู้มีส่วนในการช่วยเหลือของ Chrome
  • about:dns — รายละเอียดเกี่ยวกับ DNS ต่างๆ
  • about:flags — แสดงรายการลักษณะทดลอง (Experimental features) ที่เปิดหรือปิดการใช้งานได้ (ใช้อย่างระวัง)
  • about:flash — รายละเอียดของ Flash ที่ใช้ใน Chrome
  • about:histograms — แสดงมาตรากราฟการใช้งานต่างๆของ Chrome
  • about:memory — เกี่ยวกับหน่วยความจำที่ใช้งาน
  • about:net-internals — รายการต่างๆที่เป็นประโยชน์สำหรับการ Debugging หรือปัญหาการเชื่อมต่อ
  • about:plugins — รายการ Plugin ที่มีการติดตั้งไว้
  • about:sync-internals — ข้อมูลเกี่ยวกับการ Sync ต่างๆใน Chrome
  • about:tcmalloc — แสดงสถิติการโหลดหน้าล่าสุด
  • about:terms — ข้อกำหนดการใช้
  • about:version — แสดงรุ่นที่ใช้งานอยู่
  • about:sandbox — แสดงสถานะ Sandbox ที่ใช้งานอยู่
  • อ่านเพิ่มเติม »

    วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

    เล่นเกม Angry Birds ใน Chrome

    เกมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Rovio Mobile จากฟินแลนด์ วางจำหน่ายให้เล่นครั้งแรกใน iPhone และ iPod ผ่าน App Store และตอนนี้สามารถเล่นได้ฟรีแล้วในบราวเซอร์ Google Chrome

    เนื้อหา

    เรื่องราวของเกมเริ่มจากหมูปีศาจสีเขียวได้ไปโขมยไข่ของนกเพื่อจะมาทอดเป็นไข่เจียว เมื่อเหล่านกรู้จึงรวบรวมเหล่าพลพรรคนกไปชิงไข่คืน ซึ่งจะต้องฝ่าด่านป้อมต่างๆที่ทำจากไม้, หินและน้ำแข็งที่เหล่าหมูได้สร้างป้องกันไว้

    สามารถดาวน์โหลด Extension นี้ได้จากลิ้งค์ข้างล่างนี้

    ดาวน์โหลด

    อ่านเพิ่มเติม »

    วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

    เริ่มต้นรู้จักกับ Kindle

    Amazon Kindle เป็นอุปกรณ์ E-reader ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในร่มและกลางแดด, เทคโนโลยีของหมึกอิเลคโทรนิคส์ รวมถึงอายุการชาร์จแบตเตอรี่ที่ยาวนาน Kindle เป็นตัวเลือกระดับต้นๆของผู้ที่ชื่นชอบการอ่าน

    ถ้าคุณไม่คุ้นเคยกับ Kindle, มาเริ่มต้นการอ่านหนังสือสุดโปรดของคุณกับ Kindle กัน

    พร้อมลุย!
    แกะ Kindle ออกจากกล่อง, เราต้องชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มในครั้งแรกก่อนการใช้งาน ซึ่งสามารถใช้การชาร์จได้สองวิธี 1. สาย micro-USB ที่ต้อกับช่อง USB ของคอมพิวเตอร์และ 2. Adapter 120V AC ที่ใช้เสียบเข้ากับปลั๊กไฟ ทำการชาร์จเบตเตอรี่ให้เต็มซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมงกับวิธีที่ 1 และน้อยกว่านั้นในวิธีที่ 2

    Laptop หรือคอมพิวเตอร์เก่าบางเครื่องอาจจะมีพลังงานไม่พอที่จะชาร์จ Kindle ของคุณได้ ในกรณีนี้, คุณต้องใช้ Adapter เพื่อเสียบกับปลั๊กไฟเพื่อชาร์จแบตเตอรี่แทน เมื่อแบตเตอรี่เต็มแล้ว ไฟ LED ที่เป็นสีเหลืองจะกลายเป็นสีเขียว


    ลงทะเบียน, ตั้งรหัสผ่านและจ่ายเงิน
    คุณจำเป็นต้องลงทะเบียนกับ Amazon เพื่อที่จะใช้ความสามารถของ Kindle ได้อย่างสมบูรณ์และสามารถสั้งซื้อสินค้าได้จาก Kindle Store การลงทะเบียนง่ายและเร็ว อันดับแรก, คุณต้องเชื่อมต่อกับ Whispernet, บริการฟรีของ Amazon ซึ่งจะเชื่อมต่อโดยการใช้ WIFI หรือ 3G (ขึ้นอยู่กับ Model ของ Kindle ที่คุณใช้อยู่) ถ้าคุณเชื่อมต่อผ่าน WIFI คุณอาจจะต้องกรอกรหัสผ่านเพื่อเข้าถึงการเชื่อมต่อ WIFI

    ในหน้าจอ Home, กดปุ่ม Menu และตรวจสอบว่า Whispernet เปิดใช้งานอยู่ ต่อไป, ใช้ตัวควบคุมห้าทางเลื่อนรายการลงไป และเลือกตัวเลือก Settings เมื่ออยู่ในหน้า Settings เลือกตัวเลือก Register คุณต้องกรอกชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน Amazon เพื่อให้การดำเนินการลงทะเบียนสมบูรณ์ ถ้าคุณไม่มีชื่อบัญชีอยู่, สมัครการใช้งานได้ที่ Manage Your Kindle ในเวบไซท์ของ Amazon

    การสั่งซื้อของต่างๆจาก Kindle Store ทำได้ง่ายและเร็วโดยการตั้งค่าวิธีการจ่ายเงินไว้กับ Amazon ใช้วิธีการ Amazon's 1-Click, ซึ่งจะต้องการบัตรเครดิต, บัตรเดบิต, บัตรของขวัญ Amazon โดยการไปที่หน้า Manage Addresses and 1-Click Settings กรอกที่อยู่การจัดส่งสินค้า รวมถึงข้อมูลบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต


    การซื้อสินค้าจาก Kindle Store
    เมื่อคุณเข้าระบบด้วยชื่อบัญชีของคุณแล้ว คุณสามารถสั้งซื้อสินค้าได้โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ของคุณ และสามารถเข้าชม Kindle Store ใน Kindle ของคุณได้ด้วย ในหน้าเวบไซท์หน้าแรกที่คุณเปิด, กดปุ่ม Menu และเลือก Shop ใน Kindle Store จากตรงนี้, คุณสามารถใช้ Kindle Storefront, ตำแหน่งที่คุณสามารถเลือกจากชื่อเรื่องได้นับพัน ค้นหาชื่อเรื่องหรือชื่อผู้เขียนที่คุณสนใจ หรือจะค้นหาจากประเภท (by genre)


    ลองก่อนซื้อ
    นอกจาก Ebook, Kindle Store ยังบริการหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่สามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้หลากหลาย คุณยังสามารถเก็บบันทึกรายการที่คุณสนใจเพื่อกลับมาดูใหม่อีกครั้งได้ รายการส่วนใหญ่ใน Kindle Store ยังนำเสนอตัวอย่างเนื้อหาไว้ด้วย เพื่อที่คุณจะสามารถดาวน์โหลดตัวอย่างนั้นมาเพื่อทดลองอ่านก่อนที่จะตัดสินใจสั่งซื้อ การสมัครใช้สินค้ารายวันหรือสัปดาห์เช่น หนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ที่ให้ทดลองใช้ได้ 14 วัน

    อ่านเพิ่มเติม »

    วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

    URL about ใน Firefox

    ในเวบบราวเซอร์ Firefox เราสามารถใช้ URL พิเศษ about:config สำหรับการปรับแต่ง Firefox ของเราได้
    ต่อไปนี้เป็นรายการที่ใช้กับ URL about: ที่สามารถใช้ได้ใน Firefox



  • about: — เหมือนกับที่เปิดใน "Help -> About" แต่หน้าที่แสดงจะอยู่ในบราวเซอร์ไม่ใช่ในหน้าต่างอื่น
  • about:about — รายการ about ทั้งหมด (ชุดสำหรับ Mozilla เท่านั้น)
  • about:blank — หน้าว่าง ประโยชน์สำหรับตั้งค่าเป็นหน้าแรกของคุณ
  • about:buildconfig — แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลือก Mozilla build ของคุณ
  • about:cache — แสดงสถานะ Cache
  • about:cache?device=memory — รายการความจำ Chche ทั้งหมด
  • about:cache?device=disk — รายการดิสก์ Cache ทั้งหมด
  • about:cache-entry — แสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายการ Cache ถูกใช้ในลิงค์ about:cache ต้องการ Parameter
  • about:config — GUI สำหรับการแก้ไขการปรับแต่งการใช้งาน (ไฟล์ prefs.js)
  • about:credits — รายการของผู้สนับสนุนในโครงงาน Mozilla
  • about:logo — แสดงโลโก Mozilla (Mozilla Suite เท่านั้น).
  • about:license — แสดง Mozilla Public License และ Netscape Public License สำหรับส่วนของซอฟท์แวร์ (เพียงในผลิตภัณท์ที่ใช้บน Gecko 1.8 เท่านั้น)
  • about:mozilla — Book of Mozilla ที่โด่งดัง
  • about:plugins — รายการ Plugin ของคุณทั้งหมดพร้อมกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ
  • อ่านเพิ่มเติม »